นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

    บริษัทได้กำหนดนโยบายปฏิบัติตามหลักการและข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมกำรบริษัทึ่งสอดคล้องกับข้อพึงปฏิบัติ
    ทีดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียนตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยนำ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย เพื่อให้การบริหารงานและการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส อันจะเป็นการให้ความ คุ้มครองและเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยบริษัทได้กำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามแนวปฏิบัติดังนี้

นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทกำหนดให้คณะกรรมการบริษัทถือปฏิบัติดังนี้

  • บริหารงานด้วยความระมัดระวังและรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสามารถและ ประสิทธิภาพที่เพียงพอ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น
  • ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เปิดเผยข้อมูลอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอแก่ สาธารณะ ผู้ถือหุ้น และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  • ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน รวมทั้งดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความ เสี่ยงอยู่เสมอ โดยมีการควบคุมและบริหารความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ้
  • ดูแลมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเอง
  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน และต้องดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมต่อคู่ค้ำ ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

สิทธิ์ของผู้ถือหุ้น

  • สิทธิในการได้รับข้อมูลของบริษัท
  • สิทธิในการออกเสียง
  • สิทธิที่จะได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกันในสิทธิต่างๆ ที่ผู้ถือหุ้นพึงมีและพึงได้

สิทธิ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มโดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ถือหุ้น – บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทในระยะยาว และผลตอบแทนที่ดี
  • พนักงาน – บริษัทถือว่าพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญ ในความสำเร็จของบริษัท มีจัดอบรมพัฒนาความสามารถในการทำงานให้เป็นระดับมืออาชีพ ให้ความมั่นใจในคุณภาพของชีวิตการทำงานอย่าง เท่าเทียม เสมอภาพ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย และได้รับผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม
  • คู่ค้า – ซื้อสินค้า และบริการลูกค้าโดยเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้า รวมถึงปฏิบัติตามสัญญาต่อคู่ค้า และเงื่อนไขข้อตกลง เกี่ยวกับการกู้ยืมอย่างเคร่งครัด
  • เจ้าหนี้ – บริษัท จะรักษา และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้โดยเคร่งครัด
  • ลูกค้า – บริษัทมีความมุ่งมั่นในการสร้างพึงพอใจ และรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยรักษาคุณภาพและมาตรฐานในผลิตภัณฑ์ และบริการที่ดี รวมทั้งมีมาตรการในการเก็บรักษาความลับของลูกค้า และมีบุคลากรที่ทำหน้าที่รับคำร้องเรียนของลูกค้า
  • คู่แข่ง – บริษัทจะประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี รักษาบรรทัดฐานของข้อพึงปฏิบัติในการแข่งขัน หลีกเลี่ยงวิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือทำลายคู่แข่งขัน
  • ชุมชนและสังคม – บริษัทมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนและสังคมโดยมีมาตรการในการดูแลรักษาเครื่องใช้อุปกรณ์ในการดำเนินงานของบริษัทเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมจากมลภาวะที่อาจเกิดขึ้น

การประชุมผู้ถือหุ้น

ในการประชุมแต่ละครั้ง ผู้ถือหุ้นสามารถสอบถามและแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่บริษัทได้ โดยบริษัทจัดให้มีประธานคณะกรรมการ ตัวแทนจากคณะกรรมการ ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษาทางกฎหมายเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบข้อซักถามต่างๆ ทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์

คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการกำหนด (หรือให้ความเห็นชอบ) วิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัท ตลอดจนการกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ ให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดให้แก่กิจการ และความมั่นคงสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อช่วยดูแลรายงานทางการเงิน และระบบควบคุมภายในและเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อำจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้อง และครบถ้วน

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ในการทำรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจะพิจารณาความเหมาะสม อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นหลัก ซึ่งมาตรการในการอนุมัติรายการระหว่างกัน ตลอดจนกำหนด นโยบายและแนวโน้มในการทำรายการระหว่างกันในอนาคตให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่29 มีนาคม 2549

จริยธรรมทางธุรกิจ

บริษัทได้ออกข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ของคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและพนักงานเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทำงในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งสื่อสารให้กรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานรับทราบ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา และพนักงานทุกระดับขององค์กร

การถ่วงดุลกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

บริษัทได้แต่งตั้งกรรมการบริษัท โดยไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มคนใดมีอำนาจในการตัดสินใจเพียงบุคคลเดียว หรือกลุ่มเดียว โดย กำหนดให้มีกรรมการอิสระจำนวน 4 ท่าน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งคณะ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารงานมี ประสิทธิภาพและสร้างกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล

การรวมหรือการแยกตำแหน่ง

บริษัทแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการออกจากกัน โดยมิให้บุคคลคนเดียวดำรงตำแหน่งทั้งสองควบคู่กัน ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลและการบริหารงานประจำ นอกจากนี้บริษัทได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและกรรมการผู้จัดการไว้อย่างชัดเจนทำให้ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จและมีการถ่วงดุลในกิจการที่สำคัญซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งอำนาจที่มอบให้กรรมการผู้จัดการ หรือคณะกรรมการบริษัทจะไม่สามารถอนุมัติรายการใดๆ ที่ตนเองหรือบุคคลที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัท

ค่าตอบแทนกรรมการและเจ้าหน้าทระดับบริหาร

ค่าตอบแทนคณะกรรมการจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีความเหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมาย ส่วนค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ระดับบริหารเป็นไปตามหลักการ และนโยบายที่คณะกรรมบริษัทกำหนด ซึ่งสอดคล้อง กับหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งผลการดำเนินงานของบริษัทและผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับ บริหารแต่ละท่าน

การประชุมคณะกรรมการ

คณะกรรมการต้องมีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุก 3 เดือน และมีการประชุมเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น และกรรมการสามารถ เสนอเรื่องเพิ่มเติ่มให้ที่ประชุมพิจารณาได้ รวมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมได้อย่างเปิดเผย และตรงไปตรงมา โดย บริษัทจะจัดทำรายงานประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง

คณะอนุกรรมการ

การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 4 ท่าน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี เพื่อช่วยในการ ตรวจสอบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท โดยกำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปตามขอบเขต ซึ่ง เป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำอย่างน้อย ไตรมาสละ 1 ครั้ง และจะจัดให้มีการประชุมเป็นพิเศษในกรณีที่มีภาวะเร่งด่วน คณะกรรมการตรวจสอบ จะรายงานต่ กรรมการบริษัท

ระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน

จัดให้มีระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในทั้งในระดับบริหาร และระดับปฏิบัติเพื่อให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการควบคุม ดูแลการใช้ทัรพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังจัดให้มีส่วนงานตรวจสอบภายในซึ่งจะรายงานโดยตรงต่อ คณะกรรมการตรวจสอบ และดำเนินให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทได้ทำการประเมินและทบทวนระบบการควบคุมภาย ในของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทได้จัดให้มีคู่มือการตรวจสอบภายในของบริษัทเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน

รายงานของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท การกำกับดูแลกิจการ รวมทั้งงบการเงิน และสารสนเทศ ทางการเงินที่จะปรากฎในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และรายงานประจำปีของบริษัท

ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

บริษัทมีนโยบายให้ฝ่ายบริหารเปิดเผยข้อมูลที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนที่ตรงต่อความเป็นจริงและเชื่อถือได้ โดยเฉพาะข้อมูลที่สำคัญที่มีผลกระทบกับบริษัทตามกฎระเบียบของคณะกรรมการ กลต. และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลของบริษัทได้โดยตรงที่ งานนักลงทุนสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-941-6931, 02-941-6931 Email : info@easonplc.com หรือรับข่าวสารจากเว็บไซต์ www.easonplc.com

ข้อมูลนักลงทุน

การกำกับดูแลกิจการที่ดี
more

ข้อมูลองค์กร

วิสัยทัศน์
more

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสาร
more

Copyright 2011 EASON PAINT PUBLIC COMPANY LIMITED. All right reserved. Terms & Conditions